Skip to content Skip to footer

เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2566 นางซองทิพย์ เสริมสวัสดิ์ศรี ผู้อำนวยการฝ่ายนิทรรศการและกิจกรรมสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม)

ClientClient nameYear2018AuthorAuthor nameShare

เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2566 นางซองทิพย์ เสริมสวัสดิ์ศรี ผู้อำนวยการฝ่ายนิทรรศการและกิจกรรมสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม) นำ ผู้บริหารหลักสูตร และผู้เข้ารับการศึกษาหลักสูตร สุนทรียศาสตร์และศิลป์สำหรับผู้บริหารระดับสูง หรือAesthetic Top Art (ATA)รุ่นที่ 2 ชมพิพิธภัณฑ์ ซึ่งจัดแสดงเรื่องราวความเป็นไทยให้ผู้เข้าชมได้ถอดรหัสทางความคิด จึงเป็นพิพิธภัณฑ์แนวใหม่ที่เน้นการเล่าเรื่องด้วยเนื้อหาที่หลากหลายและต้องค้นหาคำตอบ และเปลี่ยนทัศนคติที่มองพิพิธภัณฑ์เป็นเรื่องไกลตัว

สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ(มิวเซียมสยาม) แตกต่างจากพิพิธภัณฑ์ทั่วไป  เพราะเป็นสถานที่แห่งการเรียนรู้ด้วยตนเอง พิพิธภัณฑ์ ซึ่งจัดแสดงเรื่องราวความเป็นไทย ด้วยวิธีการแตกต่างหลากหลายจำนวน 14 ห้อง
ให้แต่ละคนตีความเพื่อถอดรหัสไทย ตามโจทย์ที่ตั้งไว้ว่า คนไทยมาจากไหน ไทยแท้คืออะไร ใช้สัญลักษณ์ต่างๆ รวมทั้ง แสง สี ที่ต้องชัดเจนในการสื่อสาร ภายใต้สุนทรียะ วิถี ความเป็นรากเหง้า ใช้กบแดงเป็นสัญลักษณ์การกำเนิดของคน 
และให้คนที่เข้ามาพิพิธภัณฑ์รู้สึกว่าเข้ามาแล้วเป็นเรื่องปกติ เป็นสถานที่นั่งเล่น นัดพบได้ เหมือนกับห้างสรรพสินค้า

ใน 14 ห้องนิทรรศการ ได้แก่ 
1.“ห้องไทยหรือเปล่า” มีหุ่นใส่ชฎาที่กลางห้อง ตั้งคำถามว่า เป็นไทยหรือเปล่า ถ้าใช่ ตรงไหน อย่างไร ถ้าไม่ใช่ อะไรที่ไม่ใช่ไทยทำไมจึงคิดเช่นนั้น  
2.”ห้องไทยแปลไทย” เป็นห้องจัดแสดงลำดับและพัฒนาการของความเป็นไทย เป็นเช่นไร เริ่มต้นจากหม้อบ้านเชียง ถัดมาคือภาพจำของความเป็นไทย เช่น พระที่นั่งจักรี เสื้อลูกไม้ รูปปั้นช้าง ธงชาติ ซึ่งเกิดขึ้นในสมัย รัชกาลที่4,5,6 จนถึงยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยใช้โมเดล อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยและสุดท้ายคือความเป็นไทยร่วมสมัย เช่น รถตุ๊กๆ หนังไทย ไปจนถึงชุดประจำชาติประกวดนางงาม 
3. “ห้องไทยตั้งแต่เกิด” นำเสนอรูปแบบการแสดงแสง สี เสียง บนโต๊ะขนาดใหญ่ ให้ดูว่าในแต่ละสมัย เราใช้อะไรเป็นตัวแทนของความเป็นไทยบ้าง
4.”ห้องไทยสถาบัน” เป็นห้องเล่นเกมทดสอบไหวพริบ แบ่งออกเป็น หมวด ชาติศาสนา และพระมหากษัตริย์ 
5. “ห้องไทยอลังการ” จำลองท้องพระโรงของพระราชวังสมมุติแห่งหนึ่ง โดยมีราชบัลลังก์เป็นสิ่งสูงสุด เปรียบได้ดั่ง พระอินทร์ประทับบนยอดเขาพระสุเมรุ อันเป็นศูนย์กลางจักรวาล ตามคติโบราณ 

6.”ห้องไทยแค่ไหน” เป็นห้องหุ่นแต่งกายชุดต่างๆที่เป็นชุดไทย แต่จะเป็นไทยมากน้อยแค่ไหนต้องพิจารณาดูกัน ตั้งแต่เครื่องแต่งกายโบราณในราชสำนัก ชุดพื้นเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ หรือแม้แต่หุ่นแมคโดนัลด์ที่เป็นฝรั่งแท้ แต่ยกมือไหว้ก็เกิดความเป็นไทยขึ้นมาทันที แล้วย้อนกลับมาดูชุดร่วมสมัยในวันนี้ มีความเป็นไทยแค่ไหน 
7.”ห้องไทย ONLY”  ไทยแลนด์ Only มีไทยเท่านั้น ไทยคิด ไทยทำ ไทยขำไทยบูชา โดยให้ส่องดูสิ่งของที่จัดแสดงที่ล้วนเป็นของบ้านๆที่เราคุ้นเคย เป็นภูมิปัญญาระดับรากหญ้า สะท้อนวิธีคิดและวิธีแก้ปัญหาแบบไทยๆ 
8.”ห้องไทยINTER” หรือห้อง “ไทยเสนอ เทศสนอง” ดูว่าอะไรที่เราภูมิใจนำเสนอความเป็นไทยไฮโซ ไทยในราชสำนัก ปราณีต สวยงาม สูงส่งเลอค่า อาจเห็นได้เฉพาะในพิพิธภัณฑ์ หรือตามโรงแรม 5 ดาวเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง สิ่งที่ เทศสนอง กลับเป็นไทยแบบร่วมสมัยใกล้ตัว เรียบง่าย ตรงไปตรงมา และอาจเห็นได้ทั่วไปบนท้องถนน 
9.”ห้องไทยวิทยา” จำลองบรรยากาศห้องเรียน 4 ยุค โรงเรียนและแบบเรียนเป็นเครื่องมือสำคัญที่รัฐบาลทุกสมัยใช้ในการปลูกฝังความเป็นไทยให้กับเยาวชนของชาติ 
10.”ห้องไทยชิม” จัดแสดงอาหารให้เลือกชมหลากหลายเมนู ล้วนเป็น อาหารไทย ที่เราต่างคุ้นลิ้นเป็นอย่างดี อาหารไทยที่ขึ้นชื่อไปทั่วโลกนั้น มีที่มาจากไหน มีเกร็ดน่ารู้อะไรบ้าง คำตอบอยู่ในจานแต่ละใบ

11.”ห้องไทยดีโคตร” เรียนรู้ต้นทางของความเป็นไทย ตั้งคำถามว่า เชื่อหรือไม่ว่างานศิลปกรรมของไทยอันงดงามมีเอกลักษณ์ ล้วนมีพัฒนาการจากวัฒนธรรมอื่นทั้งสิ้น เริ่มจากพระปรางค์วัดอรุณฯ จะเห็นการคลี่คลายรูปทรงจากเทวสถานอินเดียใต้ สู่ปราสาทหินของขอม มาเป็นปรางค์ในสมัยอยุธยา จนเป็นพระปรางค์วัดอรุณฯอันงดงาม 
12.”ห้องไทยเชื่อ”จัดแสดงวัตถุบูชา ตั้งคำถามว่าคุณนับถือศาสนาอะไร คนส่วนใหญ่จะตอบว่าศาสนาพุทธ แต่คำตอบที่ถูกน่าจะเป็น ศาสนาไทย มากกว่า ซึ่งเป็นส่วนผสมของความเชื่อแบบผี พราหมณ์ พุทธ มารวมกัน 
13.”ห้องไทยประเพณี” จัดทำเป็นกล่องต่างๆที่มีความลับอยู่ภายในกล่องให้คนได้เล่นเกม เช่นกล่องสีส้มคือเรื่องราวประเพณี กล่องสีเขียวคือเทศกาล และกล่องสีน้ำเงินเกี่ยวกับมารบาทภายในมีแผ่นพับอธิบายเรื่องราวและที่มาที่เป็นของเรื่องนั้น 
14.”ห้องไทยแชะ” เป็นสตูดิโอถ่ายรูป ให้เลือกชุด เครื่องประดับ เลือกฉาก หรือพร็อพให้ตรงยุค ภาพถ่ายในวันนี้ อาจกลายเป็นหนึ่งในภาพประวัติศาสตร์ของไทยในวันหน้าก็เป็นได้ 

การเข้าชมมิวเซียมสยามในครั้งนี้ของผู้เข้ารับการศึกษาหลักสูตร ATA รุ่น 2 จึงเป็นการเรียนรู้สุนทรียศาสตร์และศิลป์ผ่านพิพิธภัณฑ์ที่แตกต่างออกไป เป็นการถอดรหัสไทย ด้วยคำถามไทยแท้คืออะไร คำตอบของไทยแท้คือ เลือก รับ ปรับ ใช้  โดยขึ้นอยู่กับยุคและบริบทสังคม ที่ไม่ควรใช้ความคิดความเชื่อของแต่ละคนมาตัดสินกัน

สำหรับหลักสูตรสุนทรียศาสตร์และศิลป์สำหรับผู้บริหารระดับสูง หรือ Aesthetics Top Art (ATA)เป็นหลักสูตรที่เกิดจากความร่วมมือของสมาคมสุนทรียศาสตร์และศิลป์ กับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมโยงองค์ความรู้จากศักยภาพของสองสถาบัน มุ่งสร้างความเข้าใจเชิงลึกด้านสุนทรียศาสตร์และศิลป์ ที่สร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจและสังคม โดยมีผู้บริหารระดับสูงจากภาครัฐเอกชน และนักวิชาการ ศึกษาเรียนรู้ร่วมกัน

Leave a comment